วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นางพญาเสือโคร่ง

ต้นไม้ : นางพญาเสือโคร่ง

    นางพญาเสือโคร่ง มีชื่ออื่นว่า ฉวีวรรณ ชมพูพิงค์ และซากุระดอย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides D.Don อยู่ในวงศ์ Rosaceae สกุล Prunus เช่นเดียวกับต้นเชอรี่ แอปริคอต พลัม แอปเปิล ท้อ และสาลี่ ล้วนเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น ต้น นางพญาเสือโคร่งมักพบอยู่ตามไหล่เขาหรือสันเขา มีกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ในต่างประเทศอยู่ทางตอนใต้ของจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ในป่าที่มีระดับความสูง 500 – 1,500 เมตร เป็นไม้ยืนต้นพลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10 – 15 เมตร ชนิดใบเดี่ยว ดอกจะเบ่งบานเต็มที่ในระหว่างปลายเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม และอาจจะมีประปรายไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดอกเป็นช่อกระจุกกลีบเลี้ยงติดกันเป็นกรวย มี 5 กลีบ ขยายพันธ์โดยเมล็ด
    ดอกนางพญาเสือโคร่งสีชมพูสว่างสดใส ร่ายมนตราหว่านเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาชื่นชม บนขุนเขาจากเหนือสุดจังหวัดเชียงราย จนมาถึงทับเบิก ดินแดนเทือกเขากะหล่ำปลี จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็จะได้พบเห็นดอกนางพญาเสือโคร่งบานในภูมิประเทศที่ระดับความสูงพอเหมาะ และมีอากาศหนาวเย็นเป็นใจ ราวเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
     นางพญาเสือโคร่งได้รับการปรับปรุงพันธ์ และนำไปปลูกไว้ตามป่าต้นน้ำลำธารหลายแห่งมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว บัดนี้ได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และออกดอกสวยสดงดงามให้ชมกันทุกปี

นางพญาเสือโคร่ง เชียงใหม่

ขุนช่างเคี่ยน

    ขุนช่างเคี่ยนหรือสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนตั้งอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่   ตั้งอยู่ในเส้นทางเดียวกับพระธาตุดอยสุเทพพระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์และบ้านม้งดอยปุยสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนเป็น1 สถานีเกษตรฯของคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์กาแฟ  ไม้ผลเมืองหนาวเช่นท้อพลับบ๊วยพลัมอะโวกาโดมะคาเดเมียและไม้ผลกึ่งร้อนได้แก่ลิ้นจี่และในทุกๆปีของหน้าหนาวช่วงเดือนมกราคมต้นนางพญาเสือโคร่งหรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทยสีชมพูสดจะบานสะพรั่งอวดความงามไปทั่วบริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนหมู่บ้านชาวม้งบ้านขุนช่างเคี่ยนเต็มไปด้วยสีชมพูของต้นนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่มากทั้งตามข้างทางถึงในหมู่บ้านต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็นดงอยู่รวมกันสีของซากุระนั้นบานเป็นสีชมพูสดใสแถมบางช่วงซากุระยังบานแทรกตัวอยู่ในหมู่บ้านตามบ้านเรือนดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนักซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมากางเต็นท์ได้ทั้งที่หน่วยดอยปุยและบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนก็ได้เช่นกัน
    ขุนช่างเคี่ยนถือเป็นแหล่งชมดอกพญาเสือโคร่งที่  ที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุดซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะดงดอกซากุระดอยที่ขุนช่างเคี่ยนมีความสวยงามไม่แพ้ใครดอกซากุระ (นางพญาเสือโคร่ง) จะบานเฉพาะฤดูหนาวช่วงระหว่างปลายเดือนธันวาคม - ต้นเดือนมกราคมเท่านั้นซึ่งจะบานในระยะเวลาไม่นานดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลก่อนการเดินทางแล่วงเวลาที่ดอกพญาเสือโคร่งบานก่อนออกเดินทางนอกจากได้ชมดอกซากุระเมืองไทยแล้วที่นี่ยังมีดอกท้อสีขาวบริสุทธิ์ที่อวดดอกออกช่อแข่งกับดอกนางพญาเสือโคร่งอย่างไม่ขัดเขิน

การเดินทางและที่พัก

    สถานีวิจัยเกษตรที่สูงฯ ขุนช่างเคี่ยน อยู่ห่างจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนอเวศน์ราว 12 กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปจุดกางเต็นท์ดอยปุยและหมู่บ้านม้งขุนช่างเคี่ยน ถนนในช่วงนี้ค่อนข้างแคบและคดเคี้ยวต้องขับด้วยความระมัดระวัง
    การพักแรม สามารถกางเต็นท์ที่หน่วยดอยปุย อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย หรือติดต่อที่พักสถานีวิจัยเกษตรที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. 0-5394-4053, 0-5322-2014 หรือไปกางเต็นท์บริเวณลานสถานีฯ
    แหล่งชมความงามดอกนางพญาเสือโคร่งบานอีกแห่งหนึ่ง อยู่ในบริเวณพื้นที่ 45 ไร่ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวง(ขุนวาง) ที่หลากหลายด้วยแปลงไม้ผลเมืองหนาวต่างๆ มีทั้ง สาลี่ พลัม ท้อ แนคตารีน และสตรอเบอรี่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุนะดอยจะออกดอกสีชมพูทั้งต้น ขับให้ดอยขุนวางกลายเป็นสีชมูไปทั่วทั้งดอย
    ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ขับรถขึ้นดอยอินทนนท์ ไปตามเส้นทางหมายเลข 1009 ถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวขวาผ่านศูนย์พัฒนา โครงการหลวงอินทนนท์ (ขุนกลาง) ระยะทางราว 122 กิโลเมตร ควรใช้รถที่กำลังแรงดีอย่างรถปิคอัพหรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงขุนวางมีบ้านพักและจุดกางเต็นท์ ติดต่อจองไปล่วงหน้า โทร. 0-5343-2275-6

ดอยหลวงเชียงดาว

            คืออีกจุดหมายปลายทางหนึ่งของการตามล่าดอกนางพญาเสือโคร่ง อยุ่ที่สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาว มีเส้นทางที่เข้าถึงสะดวก แม้ที่นี่จะมีดอกนางพญาเสือโคร่งไม่มากนัก แต่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถใช้ดอยเชียงดาวอันยิ่งใหญ่อลังการเป็นฉากในการถ่ายภาพได้ เมื่อเก็บภาพในแสงเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็ขังรถมาชมดงดอกนางพญาเสือโคร่งที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ที่อยู่ไม่ไกลจากสถานีวิจัยฯ นัก
การเดินทาง ดอยหลวงเชียงดาว
            ออกเดินทางจากเชียงใหม่โดยใช้เส้นทางหมายเลข 107 ผ่านแม่ริม แม่มาลัย แม่แตง อบต.แม่นะ ก่อนเข้าสู่อำภอเชียงดาวมีถนนเล็กๆ ซ้ายมือทางเข้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน 21 กิโลเมตร ถนนไม่ดีนักบางช่วงสูงชัน ถึงด่านที่จะแยกไปหน่วยพิทักษ์ป่าเด่นหญ้าขัดให้ขับตรงไป เลยทางแยกเข้าไปโรงเรียนบ้านสันป่าเกี๊ยะ ผ่านหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ขับต่อไปก็จะถึงสถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาว
            สถานีฯ มีเรือนพัก แต่ต้องนำอาหารขึ้นมาเอง ติดต่อสถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน โทรศัพท์ 0-5322-2014, 0-5394-4053

สถานีเกษตรหลวงอ่างข่าง

            อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่5 ต.แม่งอนอ.ฝางจ.เชียงใหม่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ1,400 เมตรคำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึงอ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขางซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวล้อมรอบประมาณ5 กิโลเมตรกว้าง3 กิโลเมตรตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบแต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูนเมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่งมีพื้นที่ราบความกว้างไม่เกิน200 เมตรสถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ1,800 ไร่มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม6 หมู่บ้านได้แก่บ้านหลวงบ้านคุ้มบ้านนอแลบ้านปางม้าบ้านป่าคาและบ้านขอบด้งซึ่งประกอบไปด้วยประชากร4 เผ่าได้แก่ไทยใหญ่มูเซอดำปะหล่องและจีนฮ่ออุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ17.7 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายนและอุณหภูมิต่ำสุด–3 องศาเซเซียสในเดือนมกราคมซึ่งหากมาเที่ยวในช่วงดังกล่าวอาจพบกับแม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็งได้และเป็นอีกแหล่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่ปลูกนานางพญาเสือโคร่งไว้สองฝากถนน ตามเส้นทางขึ้นไปจนถึงสถานีฯ และที่พิเศษกว่าที่อื่นเพราะมีต้นซากุระแท้ๆ จากญี่ปุ่นปลูกไว้ให้ชมดอยอีกด้วย แต่อย่าลืม ก่อนออกเดินทางตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในช่วงที่ซากุระบานหรือไม่ เพราะซากุระจะบานเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น

การเดินทางดอยอ่างขาง

            เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 107 ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ ระยะทาง 143 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าตำบลแม่งอน อำเภอฝางอีก 25 กิโลเมตร ถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
            บนดอยอ่างขางมีที่พักและที่กางเต็นท์ โทร. 0-5345-0108-9 ใกล้กันมีรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง โทร. 0-5345-0110

นางพญาเสือโคร่ง เชียงราย

ดอยวาวี-ดอยช้าง

            อำเภอแม่สรวยทั้งสองดอยนี้เป็นที่กล่าวขานถึงเรื่องการชิมชา-กาแฟรสเลิศ แต่ที่นี่ก็ยังมีเพชรเม็ดงามให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส คือเป็นแหล่งปลูกนางพญาเสือโคร่งจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยจำนวนหลายแสนต้น ในเขตสถานีเกษตรที่ราบสูงดอยช้าง-วาวี เมื่อยามที่ดอกนางพญาเสือโคร่งบานพร้อมกันทั่วทั้งดอยนั้นสวยงามยิ่งนัก และไม่ได้มีเพียงดอกนางพญาเสือโคร่งสีชมพูเท่านั้น ยังมีดอกสีขาวให้ชมอีกด้วย ท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยราว 18 องศาเซลเซียส บนความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500 เมตร

การเดินทาง ดอยวาวี – ดอยช้าง

            ออกเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 118 ถึงบ้านตีนดอยก่อนถึงอำเภอแม่สรวยราว 10 กิโลเมตร แยกขวาเข้าที่บ้านตีนดอยไปบ้านทุ่งพร้าว ระยะทาง 20 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าสู่บ้านดอยช้างระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
            สถานีฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ ส่วนอาหารต้องติดต่อแจ้งล่วงหน้าหรือจัดเตรียมมาเอง สอบถามได้ที่สถานีฯ โทร. 0-5360-5932, 0-5360-5934 อบต.วาวี โทร. 0-5360-5960 สมาคมท่องเที่ยวเชียงราย โทร. 0-5360-1299
           

งดงามซากุระริมทางดอยแม่สลอง

    อำเภอแม่ฟ้าหลวง ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ในการชมความงามของนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระดอย โดยที่แม่สลองจะเป็นซากุระดอยพันธ์เล็กที่สุด สีชมพูอมขาวบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง และมีการจัด “งานมหัศจรรย์ชา ซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่สลอง” ประจำปีขึ้น ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม – 4 มกราคม ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนอดีตทหารจีนคณะชาติ บ้านสันติคีรี (ดอยแม่สลอง) ตำบลแม่สลองนอก

การเดินทางดอยแม่สลอง

มี 2 ทางเส้นทางแรกจากเมืองเชียงรายไปตามทางหลวงหมายเลข
  1. ผ่านอำเภอแม่จันเลี้ยวซ้าย เข้าทางหลวงหมายเลข 1089 กิโลเมตรที่ 856 ผ่านน้ำผุร้อนป่าตึง บ้านห้วยหินฝน ถึงสามแยกกิ่วสะไต กิโลเมตรที่ 55เลี้ยวขวาขึ้นดอยแม่สลองประมาณ 15 กิโลเมตร
  2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภอแม่จันไปยังอำเภอแม่สาย ถึงกิโลเมตรที่ 10 สามแยกศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เลี้ยวขวาสู่ทางหลวงหมายเลข 1338 ไปพระตำหนักดอยตุง เลี้ยวซ้ายไปทางหลวงหมายเลข 1234 ผ่านบ้านอีก้อ ถึงสามแยกกิโลเมตรที่ 9 เลี้ยวซ้ายขึ้นดอยอีก 16 กิโลเมตร
    ที่พักบ้านต้นน้ำ บนดอยตุง โทร. 0-5376-7015-17 โรงแรมแสงอรุณแม่สลอง โทร. 0-5376-5029 คุ้มนายพลรีสอร์ท โทร. 0-5379-5001-2 ดอยหมอก ดอกไม้รีสอร์ท โทร. 05376-5496-7
           

นางพญาเสือโคร่ง แม่ฮ่องสอน

หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ

            ตั้งอยู่บนความสูงราว 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติและสิ่งแวดล้อมและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรแห่งชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสวรรค์อีกแห่งหนึ่งของนักล่าความงามอันน่าหลงใหลของดอกนางพญาเสือโคร่งสีชมพูสีสดใส แม้จะเดินทางค่อนข้างลำบากแต่ก็คุ้มค่าเหนื่อย เมื่อได้พบกับความงดงามของดอยสีชมพูที่แต่งแต้มด้วยดอกนางพญาเสือโคร่ง ความงดงามนี้เกิดจากการนำพันธุ์นางพญาเสือโคร่งมาปลูกตั้งแต่ปี 2523 หากได้กางเต็นท์ค้างแรมใกล้ๆ กับดงพญาเสือโคร่ง เมื่อตอนเช้าก็จะพบกับความงดงามอ่อนหวานที่ประทับใจจนยากจะลืมเลือนขุนแม่ยะมหัศจรรย์แห่งขุนเขาแห่งดอยสีชมพูเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติตามช่วงฤดูกาลเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาวของทุกปีต้นซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งในบ้านเราก็จะทิ้งใบและผลิดอกเบ่งบานเต็มต้นอย่างดงามโดยเฉพาะที่ี่หน่วยต้นน้ำขุนแม่ยะจะมีลักษณะเป็นพิเศษที่มีการปลูกกันทั่วดอยหนาแน่นมีความสวยงามด้วยสีชมพูปกคลุมทั่วดอยจึงนิยมเรียกกันว่า“ดอยสีชมพู”


การเดินทางหน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ

    จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่มาลัย - ปาย) มาเริ่มกันที่บริเวณด่านตรวจขุนแม่ยะ ตรงกิโลเมตรที่ 67(+500เมตร) เข้าสู่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ ระยะทาง 8 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังลัดเลาะไปตามไหลเขาที่สูงชันค่อนข้างลำบากมาก ต้องใช้รถ 4WD หรือรถที่กำลังแรงดีๆ
    การเดินทางมาชมดอกพญาเสือโคร่งที่ขุนแม่ยะถ้าตั้งต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ให้ใช้เส้นทางถนนโชตนา (เชียงใหม่– ฝาง)มาถึงบ้านแม่มาลัยประมาณหลักกม.34 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข1095 ทางไปปายไปห้วยน้ำดังขึ้นเขาคดเคี้ยวชมวิวไปจนถึงทางเข้าห้วยน้ำดังด้านขวามือให้ชะลอรถขับช้าๆต่อไปเตรียมตัวได้เลยอีกกิโลเมตรกว่าๆถึงด่านตรวจแม่ยะหลักกม. 67 + 500 เป็นอันว่าถึงต้นทางขึ้นดอยแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิบากดินลูกรังขับไต่ความสูงชันขึ้นดอยประมาณ8 กม. ก็จะถึงที่ทำการ
    เตรียมเต็นท์ไปกางนอนเตรียมพักค้างคืนที่ใต้ต้นนางพญาเสือโคร่งได้ หรือไปนอนที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก จองได้ที่ www.dnp.go.th/parkreserve/reservation.asp

นางพญาเสือโคร่ง น่าน

หน่วยจัดการต้นน้ำขุนสถาน

    หน่วยจัดการต้นน้ำขุนสถานจังหวัดน่าน อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นขุนเขาแหล่งท่องเที่ยวสูงที่สุดของจังหวัดน่านด้านใต้ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนสูงชันมีน้ำซับไหลชุ่มชื้น อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี เดินทางเข้าถึงได้สะดวก สิ่งที่น่าสนใจและทำให้อุทยานแห่งชาติขุนสถานเป็นที่รู้จักของมีนักท่องเที่ยวมากขึ้นคือในทุกปีของช่วงเดือน ม.ค.สามารถชมความงามของดอกพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่เบ่งบานชมพูตลอดทั้งดอยนอกจากนี้จะมีหญ้าหอมที่นักท่องเที่ยวนิยมไปสัมผัสกลิ่นหอมชื่นใจของดอกหญ้า

การเดินทางหน่วยจัดการต้นน้ำขุนสถาน

    อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ใช้เส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ คือทางหลวงหมายเลข 101 เป็นเส้นทางจากแพร่ไปจังหวัดน่าน มาตามเส้นทางประมาณ 66 กิโลเมตรจะถึงหมู่บ้านห้วยแก๊ตให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1216 ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร อีกเส้นทางจากจังหวัดน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1026 เวียงสา-อำเภอนาน้อย และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวาไปถึงที่อุทยานฯ ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร
    สำหรับผู้จะค้างแรม ต้องจัดเตรียมเต็นท์กางนอนพักได้ที่หน่วยจัดการต้นน้ำฯ หรืออุทยานแห่งชาติขุนสถาน และต้องจัดเตรียมอาหารไปเองเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น